เมนู

ก็ไม่เป็นไร ชื่อว่า ปุญญวโตอิทธิ. ความปรากฏของแพะทั้งหลาย ที่ทำด้วย
รัตนะ 7ในประเทศประมาณ 8 กรีสแก่เมณฑกเศรษฐี ชื่อว่าปุญญวโตอิทธิ.
วิชชามยาอิทธิเป็นอย่างไร ฤทธิ์ที่เป็นไปโดยนัยเป็นต้นว่า พวก
วิทยาธรร่ายวิทยาเหาะได้ แสดงช้างในอากาศบนท้องฟ้า โอกาสที่เห็นได้ใน
ระหว่างช้าง ฯลฯ แสดงกระบวนทัพต่างๆ บ้าง ชื่อว่า วิชชามยาอิทธิ.
คุณวิเศษที่ทำกิจกรรมนั้นแล้วบังเกิด เป็นอิทธิ เพราะอรรถว่าสำเร็จ
ด้วยการประกอบโดยชอบเป็นปัจจัย ดังนี้ อิทธินี้ จึงชื่อว่า อิทธิ เพราะ
อรรถว่า สำเร็จ ด้วยการประกอบโดยชอบในกิจกรรมนั้น ๆ เป็นปัจจัย.
อธิบายว่า กำลังแห่งฤทธิ์ 10 อย่างนี้ชื่อว่า อิทธิพละ กำลังแห่งฤทธิ์ พระญาติ
เหล่านี้ ไม่รู้จักกำลังแห่งฤทธิ์ของเรา.
กำลังแห่งปัญญาคือพระอรหัตมรรค อันให้คุณวิเศษที่เป็นโลกิยะและ
โลกุตระทั้งหมด ท่านประสงค์ว่า กำลังแห่งปัญญา. พระญาติเหล่านี้ไม่รู้จัก
กำลังแห่งปัญญาแม้นั้น. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า คำว่ากำลังแห่งปัญญานี้
เป็นชื่อของญาณที่ไม่สาธารณะ 6 ประการ. พุทธานุภาพหรือทศพลญาณ
ชื่อว่ากำลังแห่งพระพุทธเจ้าในคำว่า กำลังแห่งพระพุทธเจ้านี้.

ญาณ 10

คือ
1. ฐานาฐานญาณ ญาณที่กำหนดรู้ฐานะเหตุที่ควรเป็นได้ และ
อฐานะ เหตุที่ไม่ควรเป็นได้.
2. อตีตานาคตปัจจุปปันนกัมมวิปากชานนญาณ ปรีชากำหนด
รู้ผลแห่งกรรมที่เป็นอดีตและปัจจุบัน.
3. สัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ ปรีชากำหนดรู้ทางไปสู่ภูมิทั้งปวง
4. อเนกธาตุนานาธาตุโลกชานนญาณ ปรีชากำหนดรู้โลกคือ
รู้ธาตุเป็นอเนกและธาตุต่างๆ.

5. นานาธิมุตติกญาณ ปรีชากำหนดรู้อธิมุตติคืออัธยาศัยของสัตว์
ทั้งหลายอันเป็นต่างๆ กัน.
6. อาสยานุสยญาณ [อินทริยปโรปริยัตตญาณ] ปรีชากำหนด
รู้ ความหย่อนและยิ่งแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย.
7. ฌานวิโมกขสมาธิสมาปัตติสังกิเลสโวทานวุฏฐานยถา-
ภูตญาณ
ปรีชากำหนดรู้ตามเป็นจริงในความเศร้าหมองความบริสุทธิ์และ
ความออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิและสมาบัติ.
8. ปุพเพนิวาสานุสสติญาฌ ปรีชากำหนดรู้ระลึกชาติหนหลังได้.
9. จุตูปปาตญาณ ปรีชากำหนดรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย.
10. อาสวักขยญาณ ปรีชากำหนดรู้ทำอาสวะให้สิ้นไป.
คำว่า กำลังแห่งพระพุทธเจ้า เป็นชื่อของญาณ 10 เหล่านี้. บทว่า
เอทสํ แปลว่า เช่นนี้ . หรือปาฐะ ก็อย่างนี้เหมือนกัน.
ศัพท์ว่า หนฺท เป็นนิบาตสงในอรรถว่าร้องเชิญ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงชี้พระองค์ด้วยบทว่า อหํ. ทรงอธิบายว่าอย่างไร ทรงอธิบายว่า ก็เพราะ
เหตุที่ญาติทั้งหลายของเราไม่รู้กำลังแห่งพระพุทธเจ้าหรือพุทธคุณ อาศัยความ
ที่ตนเป็นคนแก่เปล่า ไม่ไหว้เราผู้เจริญที่สุด ประเสริฐที่สุดในโลกทั้งปวง ด้วย
อำนาจมานะอย่างเดียว ฉะนั้น ธงคือมานะของพระญาติเหล่านั้นมีอยู่ เราจะ
รานมานะแล้วจึงพึงแสดงธรรมเพื่อพระญาติจะได้ไหว้เรา. บทว่าทสฺสยิสฺสามิ
ได้แก่ พึงแสดง. ปาฐะว่า ทสฺเสสฺสามิ ดังนี้ก็มี. ความก็อย่างนั้นเหมือน
กัน. บทว่า พุทฺธพลํ ได้แก่ พุทธานุภาพ หรือญาณวิเศษของพระพุทธเจ้า.
บทว่า อนุตฺตรํ แปลว่า ไม่มีอะไรอื่นยิ่งกว่า. สถานที่จงกรมท่านเรียกว่า
จงฺกมํ ที่จงกรม. บทว่า มาปยิสฺสามิ ได้แก่ พึงเนรมิต. ปาฐะว่า จงฺกมนํ

มาเปสฺสามิ ดังนี้ก็มี. ความก็อย่างนั้นเหมือนกัน . บทว่า นเภ ได้แก่ ใน
อากาศ. บทว่า สพฺพรตนมณฺฑิตํ ได้แก่ ตกแต่งประดับด้วยรัตนะ เพราะ
อรรถว่าให้เกิดความยินดีทั้งหมด อย่างละ 10 ๆ คือ แก้วมุกดา แก้วมณี
แก้วไพฑูรย์ สังข์ ศิลา แก้วประพาฬ เงินทองและแก้วลาย ชื่อว่าประดับด้วย
รัตนะทั้งปวง. ซึ่งที่จงกรมนั้นอันประดับด้วยรัตนะทั้งปวง อาจารย์บางพวก
กล่าวว่า นเภ รตนมณฺฑิตํ ประดับด้วยรัตนะในนภากาศก็มี.
ครั้งนั้น พอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำริอย่างนี้ เทวดาทั้งหลายมี
ภุมมเทวดาเป็นต้น ที่อยู่ในหมื่นจักรวาล ก็มีใจบันเทิง พากันถวายสาธุการ.
พึงทราบว่า พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย เมื่อจะประกาศความข้อนั้น ก็ได้ตั้ง
คาถาเป็นต้นว่า
เหล่าเทวดาภาคพื้นดิน ชั้นจาตุมหาราช ชั้นดาว-
ดึงส์ ชั้นยามา ชั้นดุสิต ชั้นนิมมานรดี ชั้นปรนิมมิตวส-
วัตดี และเหล่าเทวดาฝ่ายพรหม ก็พากันร่าเริงเปล่ง
เสียงดังถูกก้อง.

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภุมฺมา ได้แก่ ที่ตั้งอยู่ภาคพื้นดิน เช่น
ตั้งอยู่ที่หิน ภูเขา ป่าและต้นไม้เป็นต้น. บทว่า มหาราชิกา ได้แก่ ผู้เป็น
ฝ่ายมหาราช. อธิบายว่า เทวดาที่อยู่ในอากาศได้ยินเสียงของเหล่าเทวดาที่อยู่
ภาคพื้นดิน ก็เปล่งเสียงดัง ต่อนั้น เทวดาเมฆหมอก จากนั้นเทวดาเมฆร้อน
เทวดาเมฆเย็น เทวดาเมฆฝน เทวดาเมฆลม ต่อจากนั้น เทวดาชั้นจาตุ-
มหาราช ชั้นดาวดึงส์ ชั้นยามา ชั้นดุสิต ชั้นนิมมานรดี ชั้นปรนิมมิตวส-
วัตดี ต่อจากนั้นหมู่พรหม พรหมชั้นพรหมปุโรหิต ชั้นมหาพรหม ชั้น